รู้หรือไม่ว่าวิธีการบอกรักนอกจากการพูดออกมาตรง ๆ อีกการกระทำที่ตอกย้ำว่ารักแสนลึกซึ้งคือ “การจูบ"พีพีทีวี จึงนำรายละเอียดของการจูบนำเสนอ ว่าการจูบ ไม่ได้เป็นแค่การแลกเปลี่ยนสารเคมีในสมองเท่านั้น แต่เป็นการสื่อสาร หรือการแสดงออกถึงความรัก อีกรูปแบบหนึ่งด้วย เพราะทุกการสัมผัส มีความหมายที่ซ่อนอยู่ ตั้งแต่สัมผัสหน้าผาก จนถึงริมฝีกปาก ล้วนแล้วแต่สื่อความหมายทั้งนั้น

ในทางการแพทย์บอกว่าการจูบ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้ผู้ที่จูบและถูกจูบมีความสุข คลายกังวล ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นการช่วยลดความเครียดได้ทางอ้อม ข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช บอกว่า หากจูบ1 นาที ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ถึง 26 แคลอรี่และการจูบยังถือเป็นการสื่อสารของคู่รัก

  1. จูบเส้นผมแสดงความความคิดถึง
  2. จูบหน้าผาก แสดงความทะนุถนอม
  3. จูบเปลือกตา แสดงความหลงใหล
  4. จูบใบหู แสดงความเย้ายวน ต้องการ
  5. จูบปลายจมูก แสดงความซื่อสัตย์ ภักดี
  6. จูบแก้ม แสดงความเอ็นดู การอ้อน
  7. จูบริมฝีปาก แสดงถึงความรัก ฉันรักเธอ
  8. จูบต้นคอ แสดงถึงความต้องการ
  9. จูบหัวไหล่ แสดงถึงความเป็นเจ้าของ
  10. จูบหลังมือ แสดงถึงความให้เกียรติ ยกย่อง

นอกจากการสื่อความหมายที่ทำให้การสัมผัสนั้นลึกซึ้งมากกว่าเดิม การจูบยังมีความหมายในเชิงความสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน จากข้อมูลของโรงพยาบาลสมิติเวช อธิบายเอาไว้ 5 ข้อ ของการจูบคำพูดจาก เครื่องสล็อต

จูบเพื่อ “ความสุข”

เพราะการจูบคือการสื่อสาร และพฤติกรรมการจูบไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะกับคู่รัก แต่สามารถแสดงออกกับครอบครัวได้เพราะในขณะที่จูบ ร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ในคู่รักอาจจะไปสู่ความเคลิบเคลิ้ม ทำให้ผู้ที่จูบและถูกจูบมีความสุข คลายกังวล ทั้งยังช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเกิดจากความเครียดลงได้

จูบเพื่อ “ตื่นตัว พึงพอใจ”

การจูบสร้างฮอร์โมน โดพามีน (Dopamine) เพราะฮอร์โมนชนิดนี้เกี่ยวข้องกับสมองส่วนการให้รางวัล (Brain reward system) ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเราเจอสิ่งที่พอใจ เช่น ได้ทานอาหารที่ชอบ ได้จูบกับคนที่ชอบ ทำให้เราเกิดความรู้สึก สุข สนุก ใจเต้นแรง

จูบเพื่อ “ผูกมัด”

หากการจูบมีการสัมผัสกันอย่างดูดดื่ม พบว่าสมองจะมีการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพันธ์ สร้างความรักเดียวใจเดียว ปกติฮอร์โมนชนิดนี้มีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยทำให้น้ำนมแม่ไหลออกง่าย ช่วยทำให้แม่คลอดลูกง่ายขึ้น

จูบเพื่อ “เบิร์น”

การจูบ ใช้กล้ามเนื้อ Orbicularis oris ที่อยู่รอบๆ ปาก เป็นส่วนสำคัญ แต่นอกจากนั้นยังมีกล้ามเนื้ออื่นๆ อีกรวมถึง 34 มัดที่ใช้ในการจูบรวมไปถึงเส้นประสาทอย่างน้อย 5 คู่ ได้แก่ คู่ที่ 1 (Olfactory nerve) ใช้ในการรับดมกลิ่น คู่ที่ 5 (Trigeminal nerve) รับสัมผัสจาก ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม และคางและขากรรไกร คู่ที่ 7 (Facial nerve) ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าและริมฝีปาก คู่ที่ 9 และ 10 (Glossopharyngeal และ Vagus nerve) ควบคุมการส่งเสียงและ คู่ 12 (Hypoglossal nerve) ควบคุมลิ้น ซึ่งพบว่าการจูบอย่างดูดดื่ม 1 นาที เผาผลาญพลังงานได้ 26 แคลอรี่ (เพื่ออรรถรสการจูบนานๆ หมอแนะนำดูแลกลิ่นปากกันก่อนนะคะ)

จูบเพื่อกระตุ้นความรู้สึก

อันที่จริงการจูบ ก็สามารถกระตุ้นเส้นประสาทสัมผัส และฮอร์โมนแห่งความสุขได้หลายตัวดังที่กล่าวไป แต่สิ่งหนึ่งที่มีการกล่าวถึงมากคือ การส่งต่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จากชายสู่หญิง หรือชายสู่ชาย เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้พบมากในผู้ชายเพราะเป็นฮอร์โมนหลักที่ใช้ในการเติบโต ซ่อมแซมร่างกาย และเพิ่มความต้องการทางเพศ ซึ่งสามารถพบได้ในเลือดหรือในน้ำลายของผู้ชายเป็นหลัก การจูบแบบดูดดื่มจึงสามารถจุดไฟราคะได้ในเหตุผลนี้ และทางที่ดีควรทำร่วมกับการกอดและสัมผัส

อย่างไรก็ตาม การจูบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้ว่าข้อดีจะเป็นการแสดงออกทางความรักที่ลึกซึ้ง หรือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก แต่ก็ควรรักษาความสะอาดด้วยเช่นกัน เพราะการจูบหากมีสุขลักษณะที่ไม่ดี อาจจะจำไปสู่การเป็นโรคติดต่อได้

ที่มา : Health ,โรงพยาบาลสมิติเวช

คอนเฟิร์ม “ลิซ่า ลลิษา” ร่วมแสดงซีรีส์ดัง ‘The White Lotus’ ซีซัน 3

แฉกลยุทธ์ใหม่! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกคุย 2 นาที-ดูดเงินได้เกลี้ยงบัญชี

เปิดตัวละครใหม่ยัน "น้องพร" โกหกทั้งหมด